ข้อมูลจากหนังสือ

  

              หลังรับประทานข้าวแล้ว คนไทยนิยมรับประทานของหวานและผลไม้ เราเรียกของหวานว่า ขนม มีทั้งอย่างน้ำและแห้ง ปรุงด้วยข้าว แป้ง มะพร้าว และน้ำตาลเป็นหลัก ตัวอย่างเช่น ขนมปลากริมไข่เต่า ทับทิมกรอบ ขนมหม้อแกง ขนมเปียกปูน ขนมเรไร ขนมสำปันนี ขนมฝักบัว

บรรณานุกรมหนังสือภาษาไทย
     สารานุกรมไทยฉบับเสริมการเรียนรู้ / เล่มที่ 2 / เรื่องที่ 1 อาหารไทย / อาหารหวาน


.........................................................................................

สาระหน้ารู้ 

             ขนมปลากริมไข่เต่าเป็นขนมที่แยกเป็นสองหม้อขนมปลากริมหม้อ ขนมไข่เต่าหม้อกริมเป็น ชื่อเรียกปลาน้ำจืดตระกลู  เดียวกับปลากัด  รูปร่างคล้ายกัน แต่ปลากริมมีหัวแหลมกว่า แป้งขนมปลากริม จึงมีรูปร่างเป็นเส้นยาว หัวท้ายเรียวรสชาติของขนมปลากริมนั้นหวาน และหอมน้ำตาลโตนดตัวสีน้ำตาล มีชื่อเล่นที่ชาวบ้านเรียกว่า ตัวหวาน ขนมไข่เต่าจะปั้นตัวกลมๆ รีๆ รสชาติมันๆ เค็มๆ จาก กะทิ ตัวสีขาว ชาวบา้นเรียก ตัวเค็ม วิธีการกินขนมปลากริมไข่เต่า ต้องตักอย่างละครึ่งโดยตักปลากริมก่อน แล้วตักไข่เต่าราดหน้า เมื่อรับประทานก็คนให้เข้ากัน
         
            สันนิษฐานกันว่าเดิมทีขนมปลากริมไข่เต่าเป็นขนมสองอย่างแยกกัน คือขนมปลากริมอย่างหน่ึง และไข่เต่าอย่างหน่ึงแต่ในภายหลัง เมื่อนิยมนำมารวมกัน จึงเรียกรวมว่า ขนมปลากริมไข่เต่า หรือ ขนมแชงมา หรือแจ่งม้า ในหนังสือขนมแม่เอ๋ยของ ส.พลายน้อย เขียนไว้ว่า ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในการทำขนมไทยที่รู้จักกันดีในรัชกาลที่5 ได้สนใจค้นคว้าเรื่องขนมแชงมาไว้ ท่านได้บันทึกเรื่องขนมแชงมาไว้ว่า

 “ขนมน้ีเป็นของโบราณไม่มีหลักฐานว่า รูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร มีหลายต่อหลายคนว่าเป็น ขนมไข่เต่านั้น เองจนกระทั้ง ได้มีอุบาสิกาท่านหน่ึงชื่อเนยวัดอมรินทร์ได้นำขนมใส่หม้อมา 2 หม้อ นำถวายพระจึงไต่ถามได้ความว่า นี่ ละขนมแชงมา เป็นขนมโบราณ ตักออกมาจากหม้อ หม้อหน่ึงเป็นขนมไข่เต่าอีกหม้อเป็นขนมปลากริม อุบาสิกาเนยบอกว่า คนโบราณกินผสมกัน สองอย่าง เรียกว่าแชงมาถ้าตักกิน อย่างใดอย่างหน่ึงก็เรียกเฉพาะขนมที่ตักเท่านั้น ”

   
 แต่ทุกวันน้ีขนมที่เรียกว่า ปลากริมไข่เต่า มิใช่ขนมปลากริมผสมกับไข่เต่า สมชื่อเสียแล้ว แต่เป็นขนมปลากริมขาวผสมปลากริมแดงแม้ไ้ม่มีไข่เต่า เพราะปั้นยากแต่ก็ยังคงเรียกเป็นขนมปลากริมไข่เต่า จนทุกวันน้ี

บรรณานุกรมหนังสือภาษาไทย

      แหล่งข้อมูล นิตยสารครัว ฉบับ ที่39 กันยายน 2540 หน้า 92-93

Creative Commons License



This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น